24/11/53

mind map กับเด็กตัวน้อย

หลายท่านอาจจะคุ้นหูเรื่องของผังความคิดหรือ mind map ผู้เขียนได้ใช้กับเด็กวัยเกือบ 6 ขวบ อย่าเพิ่งเกาหัวแล้วคิดว่ามันยาก ลองมาฟังกันก่อน [อ่านเรื่องมายด์แม็พที่นี่ 1, 2(สองมีเพลงประกอบ กรุณาปิดเสียงก่อน)]

จากประสบการณ์จริงได้ลองเขียนผังความคิดจากการอ่านหนังสือกับลูก เราพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ได้และสรุปบทเรียน ข้อคิด (วันนี้ไม่ได้นำมาเสนอ เพราะกระดาษจริงมันยุ่ยไปแล้ว อินชาอัลลอฮฺ ครั้งหน้าจะนำมาเสนอ) พอดีว่าวันนั้นพิเศษหน่อย เราไปห้องสมุดของกทม.ที่มาตั้งหน้าสุเหร่าหลายปีแล้ว ให้เค้าเลือกหนังสือที่อยากอ่าน แล้วแม่ก็อ่านให้ฟัง ทายสิแกหยิบเล่มไหน มันเป็นเล่มที่บ่านไม่มี คือเรื่องตด เป็นหนังสือแปลของญี่ปุ่นที่พูดถึงว่าตดมาจากไหนและไปไหน

เด็กสนุกและจดจำได้ดี กลับมาบ้าน พอช่วงเย็นเวลาเหมาะเจาะเลยชวนมาทบทวนกันดีกว่าว่า หลังจากอ่านแล้วได้ข้อสรุปอะไรบ้าง ด้วยความที่แม่วาดรูปไม่ค่อย work แต่ลูกก็เดาได้ถูก เราก็มาช่วยกัน นำทางให้เด็กว่าแบ่งหมวดอย่างไร เช่นว่า ภาพแก่นแกนตรงกลางเป็นรูปคล้ายเมฆสื่อถึงตด แล้วก็แตกกิ่งแก้วเป็นหมวดที่เราต้องการแบ่งเช่นว่า เกิดจาก ลักษณะ ส่วนกิ่งก้อยก็เช่น (เกิดจาก) การกินอาหาร อาหารบางประเภท อาการปั่นป่วนในท้อง เป็นต้น

ตัวเองจำไม่ได้นักว่าเนื้อหาหนังสือว่าอย่างไร แต่ mind map ก็เป็นเครืองมือที่ช่วยให้เด็กจดจำได้ง่ายและทบทวนของเก่าได้ดี

ข้อเฉพาะของการทำ mind map กับเด็กๆ คือ

- ผู้ใหญ่เป็นผู้วาดให้ อาจจะนำทางไปก่อน เด็กมาเสริมแต่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัยของเด็ก วาดรูปได้มากน้อยแค่ไหน

- ทำบ่อยๆ เค้าจะจับทางได้ว่าจะแบ่งหมวดหมู่ หรือแตกกิ่งแก้ว กิ่งก้อยอย่างไร

- เอามาทบทวน หรืออ่านแทนหนังสือ เด็กจะจำได้ง่า่ย


- ใช้สี เส้นที่ดึงดูดใจ น่าอ่าน

จริงๆ แล้วมันมีกฎของ mind map ที่ต้องศึกษาให้ดีก่อน ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ใช้อย่างผิดๆ เรื่องนี้ต้องศึกษาจากต้นตำรับ ทุกวันนี้มีหนังสือมากมายเกี่ยวกับ mind map อาจารย์ที่ขึ้นชื่อเป็นต้นแบบ mind map ในไทย  อ. ธัญญา ผลอนันต์ 

อยากให้พี่น้องลองศึกษาแล้วนำมาใช้ มันจะมีประโยชน์มากมายในการช่วยจดจำ ผู้เขียนยังใช้ในการบันทึกอัลกุรอาน
เพื่อให้จดจำได้ว่าแก่นของแต่ละซูเราะฮฺกล่าวถึงเรื่องอะไร ผู้เขียนใช้กับซูเราะฮฺสั้นๆ ลองดูได้จากภาพตัวอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บอกเล่าเก้าสิบคิดเห็นอย่างไรมาแบ่งกันเถอะ